Metabolism rate of people in different age
ก่อนไปทำความรู้จักว่ากระบวนการเมตาบอลิซึมหรือการเผาผลาญในร่างกายคืออะไร เราอยากยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวให้เพื่อนๆ ลองเริ่มคิดตามดูสักนิด ในทุกวันที่เราต้องออกไปทำกิจกรรมต่างๆ นั้น ร่างกายเราเองก็ไม่ต่างอะไรกับรถยนต์ที่ต้องมีเชื้อเพลิงเป็นพลังงานใช้ขับเคลื่อน ในขณะที่รถยนต์ต้องอาศัยการเติมเชื้อเพลิงเข้าไปในตัวถัง แต่ร่างกายมนุษย์มีวิธีเพิ่มพลังงานที่ต่างออกไป ซึ่งต้องอาศัยการเมตาบอลิซึมนั่นเอง เมตาบอลิซึมเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วแต่ละคนมีอัตราการเมตาบอลิซึมต่างกันจริงหรือไม่ มาหาคำตอบได้ที่นี่เลย
เมตาบอลิซึม (Metabolism) คืออะไร
ก็คือกระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานให้กับร่างกายไงหละ โดยจะเปลี่ยนอาหารและเครื่องดื่มที่เรารับประทานเข้าไปให้กลายเป็นพลังงาน แล้วนำไปใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การหายใจ การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะ การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย ไปจนถึงการย่อยอาหารและขับของเสีย รวมทั้งทำให้สมองและเส้นประสาททำงานได้ตามปกติ
ถ้าร่างกายใช้พลังงานไม่หมดจะเป็นอย่างไร
ขณะเดียวกันถ้าร่างกายเราสร้างพลังงานและสารอาหารออกมามาก แต่เรานำไปใช้ได้น้อย ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นได้ทั้งการที่เรารับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเข้าไปมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือรับประทานพอเหมาะแล้วแต่เราทำกิจกรรมที่ใช้พลังงานน้อย เมื่อพลังงานถูกใช้ไม่หมดจึงไปสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกายในรูปไขมัน ซึ่งจะถูกดึงมาใช้ในภายหลัง และนี่ก็คือเหตุผลง่ายๆว่าทำไมการออกกำลังกายจึงช่วยลดน้ำหนักได้ เพราะเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้เราใช้พลังมากขึ้นและเพิ่มโอกาสให้ร่างกายได้ดึงพลังงานที่สะสมในรูปไขมันมาใช้มากขึ้นนั่นเอง
ทำไมแต่ละคนจึงมีอัตราการเผาผลาญไม่เท่ากัน
ต้องบอกว่าสาเหตุของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไป เพราะปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ชีวิตต่างกัน โดยปัจจัยหลักๆ อาทิเช่น
- ขนาดร่างกายผู้ที่มีร่างกายใหญ่เผาผลาญได้มากกว่า
- มวลกล้ามเนื้อ ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อมาก มักเผาผลาญพลังงานได้เร็ว
- ไขมันในร่างกาย เซลล์ไขมันในร่างกายจะทำให้เผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่า
- เพศ ผู้ชายมีแนวโน้มเผาผลาญได้เร็วกว่า เพราะมักมีไขมันน้อยแต่กล้ามเนื้อเยอะกว่าผู้หญิง
- ปริมาณอาหารที่รับประทาน ผู้ที่รับประทานอาหารน้อยเกินไป การเมตาบอลิซึมจะช้าลง
- กิจกรรมที่ทำ ยิ่งเคลื่อนไหวมากกล้ามเนื้อยิ่งต้องการพลังงานมาก จึงเกิดการเผาผลาญมาก
- ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ หากร่างกายป่วยหรือติดเชื้อ จะส่งผลให้อัตราการเผาผลาญเพิ่มขึ้น
- การใช้ยาหรือสารเสพติดบางอย่าง เช่น คาเฟอีน ช่วยเร่งอัตราการเผาผลาญได้
- การขาดสารอาหารต่าง ๆ เช่น ผู้ที่ได้รับไอโอดีนน้อยเกินไป อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญช้าลง
ปัจจัยด้านอายุส่งผลต่อการเผาผลาญอย่างไร
- เมื่ออายุมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลง จากการศึกษาพบว่าเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ หรืออายุประมาณ 20 ปี มวลกล้ามเนื้อจะค่อยๆ ลดลง 3-8% ในทุกๆ 10 ปี และเมื่อคุณอายุ 80 กล้ามเนื้อของคุณจะหายไปแล้วประมาณ 30% เมื่อเทียบกับมวลกล้ามเนื้อตอนอายุ 20 และการที่กล้ามเนื้อลดลงก็ส่งผลให้การเผาผลาญลดลงไปด้วย
- กระบวนการเมตาบอลิซึมลดลง ซึ่งโดยปกติอัตราการเผาผลาญของคนเราจะลดลงประมาณ 5% ทุกๆ 10 ปี และมักเริ่มลดหลังจากอายุ 40 ปี (แต่ทั้งนี้คนที่อายุน้อยก็อาจมีอัตราเมตาบอลิซึมสวนทางกับอายุได้ เนื่องจากปัจจัยอื่นๆ ตามที่ยกตัวอย่างไปแล้ว)
เมื่อแต่ละวัยเผาผลาญต่างกัน ควรดูแลตัวเองอย่างไรให้หุ่นสวยสุขภาพดี
ช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี
ถือเป็นช่วงที่ระบบภายในร่างกายรวมทั้งการเมตาบอลิซึมยังทำงานได้ดี ปัญหาเรื่องน้ำหนักมากจึงไม่น่าเป็นกังวลสำหรับคนวัยนี้ เพราะลดได้ง่ายกว่าคนในวัยผู้ใหญ่ ควรให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนเพียงพอต่อการเสริมสร้างร่างกายและสมองที่กำลังเติบโต แต่หากต้องการควบคุมน้ำหนักไม่ควรอดอาหาร แต่ควรเลือกรับประทานในสัดส่วนที่พอเหมาะ ควบคู่กับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็เพียงพอแล้ว
ช่วงอายุ 20 ปี
ช่วงวัยนี้ยังคาบเกี่ยวระหว่างเรียนและวัยเริ่มต้นทำงาน ซึ่งเป็นวัยที่ร่างกายยังสมบูรณ์ รวมทั้งงระบบเผาผลาญก็ยังคงทำงานได้ดี คนในวัยนี้จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำหนักมากนัก แต่หากต้องการจะลดน้ำหนัก ก็สามารถทำได้โดยการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแคลอรี่ต่ำ ลดของหวานต่างๆ เน้นควบคุมอาหารเป็นหลักและออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
ช่วงอายุ 30 ปี
เป็นวัยที่มีความรับผิดชอบมากขึ้นทั้งในการทำงาน การเริ่มสร้างครอบครัว ทำให้คนในช่วงนี้ต้องเผชิญกับความเครียด ในขณะเดียวกันเวลาที่จะดูแลตัวเองก็มีน้อยลง ระบบเผาผลาญก็เริ่มทำงานได้น้อยลงด้วย หลายคนจึงเริ่มมีปัญหาน้ำหนักเกิน เริ่มลงพุง ดังนั้นควรเริ่มดูแลตัวเองจากเรื่องพื้นฐานที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการเลือกรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ หมั่นหาเวลาออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งการออกกำลังนี้นอกจากจะเป็นการช่วยในเรื่องลดน้ำหนักแล้ว ยังเป็นการป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย
ช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป
คนวัยนี้มักเริ่มมีปัญหาเรื่องการเสื่อมถอยของร่างกายบ้างแล้ว เพราะระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลงเนื่องจากกล้ามเนื้อในร่างกายลดลง จึงเป็นสาเหตุให้อ้วนได้ง่ายขึ้นกว่าสมัยยังหนุ่มสาว ซึ่งวิธีที่จะช่วยลดและควบคุมน้ำหนักสำหรับคนช่วงวัยนี้ คือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดการบริโภคแป้ง ไขมัน และน้ำตาล แต่เน้นรับประทานโปรตีนและผักผลไม้ รวมถึงออกกำลังกายอย่างน้อย 3-4 วันต่อสัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายได้ใช้กล้ามเนื้อมากขึ้นด้วย
คนส่วนมากมักสนใจแค่รูปร่างภายนอกจนลืมรักษาสุขภาพและละเลยที่จะทำความเข้าใจร่างกายตัวเอง เลือกทำตามวิธีคนอื่นจนสุดท้ายระบบร่างกายพังแบบไม่รู้ตัว เมื่อพูดถึงเรื่องรูปร่างแน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนักและเรื่องระบบเผาผลาญ แต่อย่างที่เราพูดไปแล้วว่าระบบเผาผลาญของแต่ละคนนั้นย่อมแตกต่างกันเพราะหลายๆ ปัจจัย ดังนั้นเราจึงควรเลือกวิธีดูแลตัวเองที่เหมาะกับเรามากที่สุด ด้วยการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพและความสมบูรณ์ของร่างกาย ทำความเข้าใจในสรีระรูปร่าง รวมทั้งปัจจัยเรื่องเพศและอายุ แล้วพิจารณาปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าเราควรปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างไร เพื่อส่งเสริมให้ระบบในร่างกายรวมทั้งระบบเผาผลาญทำงานได้ดี
สำหรับบางคนอาจเพิ่มอัตราการเผาผลาญด้วยการใช้อาหารเสริมควบคู่ไปด้วย แต่ทั้งนี้อาหารเสริมจะสามารถทำงานได้ดีและเห็นผลชัดเจนที่สุด ก็ต่อเมื่อคุณดูแลตัวเองเป็นอย่างดีโดยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญคือการเลือกรับประทานอาหารเสริมก็ควรดูให้แน่ใจว่ามีความปลอดภัย ได้มาตรฐาน พยายามเลี่ยงตัวที่มีส่วนผสมของสารเคมีเพราะอาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้ ซึ่งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสูตรอเมริกาอย่าง Slimingo ทั้ง Daily Go ตัวช่วยบล็อคแป้ง เบิร์นไขมัน และ Daily Plus ดีท็อกซ์ที่ช่วยล้างสารพิษและไขมันตกค้างในลำไส้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ปลอดภัยเพราะทำจากสารสกัดธรรมชาติ ผ่านการรับรองมาตรฐาน=จากอย. ทั้งยังได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้หลายท่านว่าใช้แล้วเห็นผลในเรื่องการมีหุ่นสวยและสุขภาพดีควบคู่กันไปได้จริง จนเลือกกลับมาซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง