Fast shipping on all orders
  Sign up to our newsletter and receive exclusive offers and promotions!

Post

8 Easy tip to stop eating salty food for better health

ติดกินเค็มกันใช่ไหมคะ ไม่ว่าจะทานอะไรก็ต้องแอบเหยาะน้ำปลาลงไปแทบทุกอย่างทั้งๆ ที่อาหารก็ผ่านการปรุงรสเค็มมาแล้ว ถึงแม้โซเดียมที่มีอยู่ในเครื่องปรุงรสเค็มๆ ทั้งหลายจะมีความสำคัญต่อร่างกาย แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพ และเป็นที่มาของโรคได้สารพัด เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต เป็นสาเหตุของอาการบวมน้ำ และทำให้ลดน้ำหนักตัวได้ยากกว่าเดิม

รสเค็มกับความอ้วน

แม้ว่าเกลือจะไม่มีไขมันและแคลอรี แต่เกลือก็เป็นตัวการทำให้ร่างกายมีอาการบวมน้ำได้ เพราะร่างกายคนเรามีกลไกปรับสมดุลระหว่างน้ำและเกลือไม่ต่างจากเครื่องจักร ยิ่งเราทานเกลือเพิ่มเข้าไป ร่างกายก็จะหาน้ำมาเจือจางอีก ซึ่งปริมาณของเกลือที่องค์การอาหารและยาแนะนำให้บริโภคในหนึ่งวันจะอยู่ที่ 2,300 มิลลิกรัมหรือประมาณหนึ่งช้อนโต๊ะ แต่ในชีวิตประจำวันเรามักได้รับเกลือโซเดียมจากอาหารโดยไม่รู้ตัวเสมอ ทำให้ร่างกายได้รับเกลือมากกว่าปริมาณมาตรฐานเกือบสองเท่า และนี่คือสาเหตุว่าทำไมคนที่ควบคุมเรื่องการทานอย่างเคร่งครัดและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีน้ำหนักตัวเท่าเดิม ไม่ลดลงเลย

เคล็ดลับ-ลดกินเค็ม-ลดเกลือ-อาหาร-โซเดียมสูง-ลดความอ้วน-ลดโรค-บวมน้ำ

8 เคล็ดลับลดเค็ม เพื่อสุขภาพที่ดี

1. จำกัดการใช้เกลือ ซอส น้ำปลา หรือเครื่องปรุงรสในการปรุงอาหาร ค่อยๆ ลดปริมาณเครื่องปรุง ปรับให้ร่างกายเคยชินกับอาหารที่รสชาติอ่อนลง

2. ชิมอาหารทุกครั้ง ก่อนที่จะมีการเติมเครื่องปรุงทุกชนิด โดยเฉพาะในอาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูงหรือมีรสเค็มจัด เช่น อาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็งและปรุงสำเร็จอาหารหมักดอง อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก หมูยอ และขนมขบเคี้ยว

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้เครื่องปรุงที่มีโซเดียมในปริมาณมาก แต่ไม่มีรสเค็ม เช่น อาหารที่ใส่ผงชูรส (โมโนโซเดียมกลูตาเมท) อาหารที่ใส่ผงฟู (โซเดียมไบคาร์บอเนต) อาหารใส่สารกันบูด (โซเดียมเบนโซเอต)

5. ทุกครั้งที่ซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากที่บอกคุณค่าทางโภชนาการทุกครั้ง และเลือกชื้ออาหารที่ระบุชัดเจนว่ามีโซเดียมต่ำ ไม่มีเกลือหรือไม่เติมเกลือ

6. เปลี่ยนมาใช้เครื่องเทศเพิ่มรสชาติอาหารแทนการใช้เกลือ เช่น น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม พริก หรือใช้เครื่องปรุงรสที่มีโซเดียมต่ำแทนเครื่องปรุงรสสูตรปกติ

7. ลดความถี่ของการรับประทานอาหารที่ต้องมีเครื่องปรุงหรือน้ำจิ้ม เช่น สุกี้ยากี้ ชาบู หมูกะทะ

8. เลือกรับประทานอาหารสดจากธรรมชาติ เช่น ข้าวซ้อมมือ ผักผลไม้ที่มีใยอาหารช่วยกระตุ้นให้ระบบขับถ่ายขจัดของเสียออกมาได้ดี หากไม่แน่ใจว่าทานมากพอในแต่ละวันไหม สามารถดื่มเครื่องดื่มดีท็อกซ์ไฟเบอร์สูง ควบคู่ไปด้วยในทุกวัน